บ้านหว้าน
ศรีสะเกษ
หมู่บ้านซำขี้เหล็ก หมู่ที่๑๐ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ บ้านซำขี้เหล็ก เริ่มมีการก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๑ โดยเริ่มแรกทีเดียว ได้มีครอบครัวของ นายวัง กุดำใส ได้พากันอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วได้ทำการตั้งรกรากบ้านเรือนและได้ทำอาชีพเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงครอบครัว เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ทำการเกษตรนั้นมีลักษณะมีน้ำซับหรือ น้ำซำ ตามภาษาของคนอีสาน ประกอบกับมีต้นขี้เหล็กขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้พากันตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะภูมิประเทศว่า บ้านซำขี้เหล็ก ซึ่งมีความหมายว่า ถิ่นที่มีน้ำซึมและต้นขี้เหล็กเป็นจำนวนมากประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กนั้น ส่วนใหญ่แล้วได้ทำการอพยพหรือย้ายถิ่นฐานมาจาก จังหวัดอุบลราชธานี ,จังหวัดยโสธร , จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น เพื่อมาทำอาชีพเกษตรกรรม เนื่องมาจากเห็นว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เหมาะกับการทำไร่ ,ทำสวน เป็นอย่างยิ่ง โดยในระยะเริ่มแรกที่ได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานนั้นอาชีพเกษตรกรรมที่ทำได้แก่ ทำไร่ข้าวโพด , ทำไร่มันสำปะหลัง เป็นต้นต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ นายแสวง ศรียา ได้เริ่มนำทุเรียนพันธุ์หมอนทอง มาทดลองปลูก จำนวน ๑๐๐ ต้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการขาดองค์ความรู้เรื่องการปลูกทุเรียน จึงได้ศึกษาและทำการปลูกใหม่ ปรากฏว่าประสพความสำเร็จ จึงได้มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งลองหันมาปลูกผลไม้อย่างอื่นลองดู เช่น เงาะ, มังคุด, ลองกอง, สะตอ, ยางพารา ฯลฯ และได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ โดยมี นายขำ บัวดก ผู้ใหญ่บ้านคนแรก ได้ผลักดันโครงการต่างๆจากรัฐ เพื่อช่วยเหลือชาวสวน ไม่ว่าจะเป็นการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ การจัดหาสินเชื่อ กับ ธกส. เป็นต้น จนมาถึงปัจจุบันที่มี นายธนกฤต พรหมจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านซำขี้เหล็กและกำนันตำบลพราน ยังได้มีการผลักดันโครงการต่างๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเจริญและเข้มแข็งให้กับชุมชน
ลักษณะสถานที่
กิจกรรมที่สามารถทำได้
รองรับการเดินทางด้วย